วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

สันนิบาตอาหรับ



    สันนิบาตอาหรับ




ข้อมูลทั่วไป

สันนิบาตอาหรับ (The League of Arab States) หรือ Arab League เป็นองค์กรภูมิภาคของประเทศอาหรับ จัดตั้งบนพื้นฐานทางชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ (Arab Based) ก่อตั้งเมื่อ 22 มีนาคม 1945 โดย ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ อิรัก เลบานอน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย จอร์แดน และเยเมน

การจัดตั้งสันนิบาตเป็นแนวคิดริเริ่มของอังกฤษ เพื่อรวมตัวกลุ่มอาหรับให้สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ การรวมตัวกันเป็นไปอย่างหลวมตั้งแต่แรก เพื่อให้องค์กรเป็นเวทีของการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (solidarity) และเป็นสัญลักษณ์ของประชาคมอาหรับ แต่มิได้ต้องการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบบูรณาการ (integration หรือ unification) แบบสหภาพยุโรป (แม้จะต้องการให้มีกลไกคล้ายสหภาพยุโรป เช่น Arab Parliament Arab Court Arab Security Council และ Arab Customs Union)

ปัจจุบันมีสมาชิก 22 ประเทศ (รวมทั้งปาเลสไตน์) และประเทศสมาชิกทุกประเทศเป็นสมาชิก OIC สมาชิก ในแอฟริกาเป็น สมาชิก AU (ยกเว้นโมร็อกโก) และบางส่วนเป็นสมาชิกองค์กรระดับอนุภูมิภาค (sub regional organization) เช่น GCC และ Arab Maghreb Union (UMA) นอกจากนี้ยังมีสมาชิกผู้สังเกตการณ์ อีก ประเทศ ได้แก่ บราซิล เอริเตรีย อินเดีย และเวเนซุเอลา
สมาชิกซึ่งมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย โดยในอดีตอิรัก และลิเบียก็นับเป็นประเทศสมาชิกที่มีบทบาทสูง

สำนักงานเลขาธิการ ตั้งอยู่ที่ กรุงไคโร สาธารณรัฐอียิปต์
เลขาธิการคนปัจจุบัน คือ นาย Nabil El-Araby

เป้าหมายและภารกิจที่สำคัญ

กล่าวได้ว่าเป้าหมายหลักขององค์กร ได้แก่เป้าหมายทางการเมือง เพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของโลกอาหรับ (รวม ทั้ง ผลักดัน Arab Agenda และพิจารณา Arab Issues) ต่าง ๆ
-  เป้าหมายสำคัญของการก่อตั้งในระยะแรก (ซึ่งเป็นช่วงเพิ่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2) ได้แก่ การเรียกร้องเอกราชของ ประเทศอาหรับที่ยังไม่ได้รับเอกราชจากประเทศอาณานิคม และการต่อต้านกระบวนการฟื้นฟูชาติยิว (Zionism) เพื่อมิให้มีการจัดตั้งรัฐ ยิวในปาเลสไตน์ ทั้งนี้ การรวมตัวกันเกิด จากรากฐานแนวคิดอาหรับนิยม (Arabism) ชาตินิยมอาหรับ (Arab Nationalism) และการรวมอาหรับ (Pan-Arabism) และการต่อต้านลัทธิการล่าอาณานิคม (Anti-colonialism) นอกจากนั้น ยังมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนอำนาจต่อรองทางการเมืองของประเทศอาหรับ และป้องปรามการรุกรานจากภายนอก
-  เป้าหมายสูงสุดใน ปัจจุบัน ได้แก่ การสนับสนุนปาเลสไตน์ เพื่อให้มีการตั้งรัฐเอกราชปาเลสไตน์ (ใน West Bank และ Gaza โดยมีเยรูซาเล็ม ตะวันออกเป็นเมืองหลวง)
-  เพื่อ สร้างความเป็น เอกภาพของกลุ่มประเทศอาหรับ (Arab Unity) โดยเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในด้านการป้องกันร่วม (joint defense) การทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
-  เพื่อ เป็นกลไกประสานนโยบายเพื่อความร่วมมือ และไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างสมาชิก และระหว่างสมาชิกกับประเทศที่สามกลไกขององค์กร

กลไกขององค์กร

กลไก ขององค์กรตามที่ได้ระบุไว้ในกฎบัตรของสันนิบาตประกอบไปด้วย สถาบันหลัก คือ คณะมนตรีสันนิบาต คณะกรรมการถาวรและสำนักงานเลขาธิการ นอก จากนั้นยังมีหน่วยงานอื่นๆที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาตามสนธิสัญญา Joint Arab Defence Treaty และยังมีการจัดตั้งหน่วยงานชำนัญพิเศษ (specialized agency) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านสังคมเศรษฐกิจ และการจัดตั้งศูนย์สารนิเทศ (Information Center) ในประเทศต่าง ๆ                                                      
1     .              คณะมนตรีสันนิบาต (Arab League Council/Council of Arab League)
คณะมนตรีสันนิบาต ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในสันนิบาตอาหรับ ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้งหมด และผู้แทนปาเลสไตน์
คณะมนตรีฯ โดยปกติจะประชุมปีละ ครั้ง เลขาธิการฯ จะเป็นผู้เรียกประชุม และประธานการประชุมจะผลัดเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิก ทั้งนี้ ในการลงมติในที่ประชุม ในกรณีที่มิได้มีมติเป็นเอกฉันท์ มติที่ได้รับจากการลงคะแนนเสียงข้างมาก (majority decision) จะมีผลผูกพันเฉพาะประเทศที่ออกเสียงสนับสนุนมติ นั้น ๆ เท่านั้น คณะมนตรีฯ จะแต่งตั้งคณะกรรมาธิการเฉพาะด้าน ซึ่งปัจจุบันมี 16 คณะ ที่สำคัญได้แก่ คณะกรรมาธิการด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม กฎหมาย และคณะกรรมาธิการสตรีอาหรับ เป็นต้น

2      .              คณะกรรมการถาวร (Permanent Committee)
ประกอบด้วยคณะกรรมการด้านต่าง ๆที่เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก โดยคณะกรรมการสันนิบาตฯ จะเป็นผู้คัดเลือกประธานกรรมการของแต่ละด้าน มีวาระคราวละ ปี และ Permanent Committee มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
3      .              สำนักงานเลขาธิการ (General Secretariat)
Arab League มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงไคโร อียิปต์ ปัจจุบันมีนาย Nabil el-Araby อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ เป็นเลขาธิการ (Secretary General) เข้ารับตำแหน่ง เมื่อ15 พฤษภาคม 2554 คณะมนตรีสันนิบาตฯ มีหน้าที่แต่งตั้งเลขาธิการฯ มีวาระคราวละ ปี หน้าที่หลักของเลขาธิการฯ คือ ปฏิบัติงานด้านบริหารองค์กร และงานด้านการเมือง
เลขาธิการฯ ตั้งแต่ก่อตั้งสันนิบาตฯ จนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
- Mr. Abdulrahman Azzam ชาวอียิปต์ ปี 1945-1952
- Mr. Mohamed Abdul Khalek Hassouna ชาวอียิปต์ ปี 1952-1972
- Mr. Mohamed Riyad ชาวอียิปต์ ปี 1972-1979
- Mr. Al-Shazly Al-Kaleiby ชาวตูนีเซีย ปี 1979-1990
- Mr. Esmat Abdul Maguid ชาวอียิปต์ ปี 1991-2001
- Mr. Amre Mahmoud Moussa ชาวอียิปต์ ปี 2001-2010
- Mr. Nabil el-Araby ชาวอียิปต์ ปี 2011-ปัจจุบัน

การประชุม
การประชุมสุดยอด (Summit of Heads of States หรือ Arab Summit) จัดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1964 (ปี 1946-1956 มีการจัดการประชุมสุดยอดฯ ครั้ง อย่างไม่เป็นทางการ) ทั้งนี้กำหนดการประชุมสุดยอดของสันนิบาตอาหรับไม่ค่อยแน่นอน เนื่องจากปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค การประชุมสุดยอดฯ ครั้งที่ 22 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2010 (2553) ณ เมืองเซอร์เต้ ประเทศลิเบีย และการประชุมสุดยอดครั้งต่อไป (ครั้งที่ 23) จัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2012 (2555) ณ กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก

นอกจากนั้น ยังมีการประชุม Council of Ministers ซึ่ง มีการจัด ประชุมปีละ ครั้ง และ Standing Committees ด้าน ต่าง ๆ 16 ด้าน เช่น Cultural Committee, Health Committee, Social Committee และ Information Committee เป็น ต้น


กลไกและหน่วยงานชำนัญพิเศษที่สำคัญอื่น ๆ

องค์กรด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (Arab League Education, Cultural and Scientific Organization – ALESCO), Special Bureau for Boycotting Israel, Arab Administrative Development Organization และ Arab Fund for Technical Assistance to African and Arab Countries เป็นต้น

ภารกิจและประเด็น สำคัญ   ของ Arab League ในระยะปัจจุบัน ได้แก่

การสนับสนุนปาเลสไตน์และสร้างสันติภาพตะวันออกกลาง ปัจจุบันสันนิบาตฯ ยึดแนวทาง Arab Peace Initiative (2002) ซึ่งได้รับ การรับรองในการประชุมสุดยอดที่กรุงเบรุต เมื่อเดือนมีนาคม 2002 ซึ่งเสนอให้อิสราเอลถอนตัว จากดินแดนอาหรับที่ถูกยึดครองในสงครามปี 1967 (Gaza West Bankที่ราบสูง Golan และพื้นที่ตอนใต้ของ เลบานอน) เพื่อแลกกับการลงนามสัญญาสันติภาพ และสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติกับประเทศอาหรับ (ตามหลักการ Land for Peace)
การเพิ่มพูนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยมีแนวคิดในการจัดตั้ง Arab Free Trade Zone เพื่อ นำไปสู่การจัดตั้ง Arab Customs Union ในปี 2015 สนับสนุนการ ปฏิรูปทางเศรษฐกิจของสมาชิกในด้านนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า และมาตรการทางภาษี เป็นต้น

การปฏิรูปทางการเมือง/ สังคม/เศรษฐกิจในโลกอาหรับ ทั้ง นี้โดย Arab League เห็นว่าการปฏิรูปในตะวันออกกลางควรเป็นไปตามวิถีทางของอาหรับ (Arab Way) โดยมี Arab League เป็น แกนนำและเป็นผู้ กำหนดทิศทาง ประเทศอาหรับเห็นพ้องว่าจะต้องมีการปฏิรูป ทั้งการพัฒนาประชาธิปไตย การสร้างความโปร่งใส การส่งเสริมภาคประชาสังคม และสิทธิสตรี แต่การดำเนินการต่าง ๆ ต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาพการณ์ภายในของแต่ละประเทศ

การปฏิรูปโครงสร้าง/กลไกขององค์กร ประเทศสมาชิก เช่น ซาอุดีฯ อียิปต์ กาตาร์ ลิเบีย ซูดาน ได้เสนอแนวคิดการปฏิรูปกลไกขององค์กร และแก้ไขกฎบัตร เช่น แก้ไขให้ข้อมติมีผลผูกพันในทางปฏิบัติแก่ทุกประเทศ มิใช่เพียงประเทศที่ออกเสียงสนับสนุนดังเช่นในปัจจุบัน ให้ NGO มีส่วนร่วมในกิจกรรมของ องค์กร และการเปิดรับประเทศที่ไม่ใช่อาหรับเป็นผู้สังเกตการณ์ การจัดตั้งรัฐสภาอาหรับ การตั้งศาลอาหรับ และการตั้งกองกำลังร่วมอาหรับและจัดตั้ง Security Council เป็นต้น
   
   นอกจากนี้ ขณะนี้สันนิบาตฯ ให้ความสำคัญแก่ประเด็นเร่งด่วนอื่นๆ ของโลกอาหรับได้แก่ การพยายามแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีในดาร์ฟูของซูดาน การสร้าง เสถียรภาพในอิรัก การต่อต้านการก่อการร้าย และการสนับสนุนสันติภาพ

สันนิบาตอาหรับ หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สันนิบาตแห่งรัฐอาหรับ (League of Arab Staes) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.. 1945 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของประเทศอาหรับทั้งหลาย โดยมีเป้าหมายหลักขององค์กร คือ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งทางด้านการป้องกัน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การติดต่อสื่อสาร และวัฒนธรรม เหตุที่ทำให้รัฐอาหรับต่าง ๆ ต้องเข้ามารวมตัวกันนั้น มีรากเหง้ามาจากแนวคิดชาตินิยมการรวมอาหรับ (Pan-Arab Nationalism)และแนวคิดต่อต้านการล่าอาณานิคม (Anti-colonialism) เป็นสำคัญปัจจุบันสันนิบาตอาหรับมีสมาชิกทั้งสิ้น 22 ประเทศ

นับจากการเริ่มก่อตั้งจนมาถึงยุคปัจจุบัน องค์การสันนิบาตอาหรับประสบความสำเร็จในการทำงานในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความร่วมมือกันทางสังคม ซึ่งได้มีการก่อตั้งคณะกรรมาธิการในคณะมนตรีและหน่วยงานชำนาญพิเศษขึ้นมาอย่างมากมายที่ทำให้เกิดการประสานความร่วมมือกันทางสังคม และทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประเทศสมาชิก นอกจากนั้น สันนิบาตอาหรับยังทำหน้าที่เสมือนเป็นเวทีให้ประเทศต่างๆ ได้มาพบปะเจรจากัน แสดงออกซึ่งท่าทีของตนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มีระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และในการสนับสนุนให้เกิดรัฐปาเลสไตน์อิสระขึ้นมา

ในส่วนที่เป็นปัญหาปาเลสไตน์จะเห็นได้ว่า เมื่อสหประชาชาติมีมติให้แบ่งปาเลสไตน์ใน ค..1947 สันนิบาตอาหรับได้จัดประชุมขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายครั้งจนได้ข้อสรุปในการตัดสินใจให้กองทัพอาหรับเข้ามาประจำการในปาเลสไตน์เพื่อที่จะปกป้องดินแดนและประชาชน การเคลื่อนไหวครั้งนั้นได้นำไปสู่สงครามครั้งแรกระหว่างยิวกับอาหรับในปี ค..1948 โดยผลของสงครามดังกล่าวทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งจนพื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นของอิสราเอล ส่วนดินแดนชายฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (West Bank) และเยรูซาเล็มตะวันออกได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจอร์แดน ในขณะที่ดินแดนชนวนกาซ่า (Gaza Strip) ถูกปกครองโดยอียิปต์

คณะกรรมาธิการด้านการเมืองขององค์การสันนิบาตอาหรับได้สนับสนุนการตัดสินใจของชาวปาเลสไตน์ที่จะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในกาซ่า อีกทั้งยังอนุญาตให้ตัวแทนชาวปาเลสไตน์เข้าร่วมประชุมของสันนิบาตอาหรับอย่างเ ป็นทางการทุกครั้ง ในขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการด้านการเมืองก็แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับแผนการของจอร์แดนที่จะผนวกเอาเวสต์แบงก์มาเป็นของตนโดยย้ำว่าการปกครองของจอร์แดน (ในเวสต์แบงก์) เป็นการปกครองชั่วคราวเท่านั้น

ใน ค.. 1960 สันนิบาตอาหรับต้องเผชิญกับอีกปัญหาหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์ที่เลวร้ายลงระหว่างอิรักกับคูเวต อันเนื่องมาจากอิรักอ้างสิทธิเหนือดินแดนคูเวต สันนิบาตอาหรับพยายามปกป้องคูเวตและประสบความสำเร็จในการบีบบังคับให้อิรักภายใต้การนำของอับดุลการีม กัสซาม (Abdel Karim Qassem) ให้เลิกล้มทุกๆ แผนการที่จะผนวกหรือรุกรานคูเวต อย่างไรก็ตาม สันนิบาตอาหรับก็ประสบความล้มเหลวในการแก้ไขข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างเยเมนกับซาอุดิอาระเบีย

ในขณะนั้น อียิปต์มีบทบาทนำในสันนิบาตอาหรับและไม่มีปัญหาอะไรที่จะเข้าไปแทรกแซงหรือเข้าไปแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิรักกับคูเวต แต่ในกรณีข้อพิพาทระหว่างเยเมนกับซาอุดิอาระเบีย อียิปต์มีข้อจำกัดในการเข้าไปแก้ปัญหา เพราะกองกำลังทหารของอียิปต์เองอยู่ในเยเมนเพื่อสนับสนุนการปฏิวัติในเยเมน อีกทั้งยังร่วมกับเยเมนสู้รบกับซาอุดิอาระเบียซึ่งเข้ามาแทรกแซงในเยเมนด้วย

ตัวอย่างประเด็นปัญหาทั้งสองกรณีที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า ในการที่จะทำความเข้าใจและตัดสินความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสันนิบาตอาหรับ เราควรศึกษาอย่างระมัดระวังในเรื่องการเมืองและความขัดแย้งระหว่างประเทศอาหรับด้วยกันเองด้วย

ใน ค.. 1964 ประธานาธิบดี กามาล อับดุล นัซเซอร์ แห่งอียิปต์ ได้เรียกตัวแทนสมาชิกมาร่วมประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับ สิ่งท้าทายสองประการที่โลกอาหรับต้องเผชิญในขณะนั้น คือ การที่อิสราเอลเจตนาเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำในแม่น้ำจอร์แดน และชะตากรรมของชาวปาเลสไตน์ ต่อความเป็นไปดังกล่าว สันนิบาตอาหรับจึงตัดสินใจที่จะจัดตั้งกองกำลังร่วมขึ้นภายใต้การนำของนายพล อาลี อาลี อัมร์ (Ali Ali Amr) แห่งอียิปต์ โดยมีหน้าที่ในการจัดระบบใหม่และเสริมกำลังให้แก่กองทัพอาหรับ เพื่อปกป้องดินแดนของชาวอาหรับเองและตอบโต้ภัยคุกคามจากอิสราเอล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาปาเลสไตน์ สันนิบาตอาหรับตัดสินใจที่จะจัดตั้งองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestinian Liberation Organization : PLO) (ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของอะห์มัด ชุกอยรี่ (Ahmad Shuqeiri) โดยมีเป้าหมายที่จะระดมพลและสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่ชาวปาเลสไตน์เพื่อที่จะสามารถดิ้นรนต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิทธิเหนือดินแดนของพวกเขาเอง

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่อิสราเอลรุกรานเลบานอนใน ค.. 1982 และขับไล่ PLO ออกจากเลบานอนจนต้องลี้ภัยไปอยู่ในตูนิเซีย ปรากฏว่า ไม่มีประเทศอาหรับใดหรือสันนิบาตอาหรับเข้าไปแทรกแซงเลย อย่างมากที่สุดประเทศอาหรับเหล่านี้ก็ออกแถลงการณ์ทางการเมืองแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับ PLO และประชาชนชาวเลบานอนเท่านั้น แต่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรเลยที่จะปกป้องดินแดนเลบานอน หรือสงวนรักษาไว้ซึ่งเอกภาพของประเทศอาหรับ

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค..1985 PLO และจอร์แดนลงนามในสนธิสัญญาที่สำคัญ ซึ่งระบุถึงเจตนารมณ์ของทั้ง PLO และจอร์แดนในการทำงานร่วมกันให้ไปสู่การจัดตั้งสหพันธรัฐปาเลสไตน์-จอร์แดน ต่อกรณีนี้ ปฏิกิริยาของประเทศอาหรับมีความแตกต่าง โดยที่ซีเรียคัดค้าน ซาอุดิอาระเบียสงวนท่าที ส่วนประเทศอื่นๆ ก็ไม่ได้มีการวิจารณ์อะไรแต่อย่างใด

ในเดือน พฤศจิกายน ค..1987 การประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับจัดขึ้นที่กรุงอัมมาน โดยมีวาระเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การสร้างความสมานฉันท์ระหว่างอิรักกับซีเรีย เชิญอียิปต์กลับมาเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับอีกครั้ง และนับเป็นครั้งแรกของการประชุมสุดยอดที่สันนิบาตอาหรับไม่ได้พูดถึงวาระเรื่อง PLO และปัญหาของชาวปาเลสไตน์เลย อย่างไรก็ตาม ในอีก 1 เดือนต่อมา เมื่อเกิดการลุกฮือขึ้นต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ (Palestinian Intifada) ในเดือนธันวาคม ค.. 1987 ประเทศอาหรับทุกประเทศต่างแสดงออกถึงการสนับสนุนและแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับปัญหาของชาวปาเลสไตน์ ในปีต่อมา ผู้นำประเทศอาหรับต่างเร่งเร้าให้จอร์แดนประกาศถอนกำลังออกจากเวสต์แบงก์

ภายหลังจากสงคราม 6 วันระหว่างอาหรับ-อิสราเอลใน ค..1967 เกิดความขัดแย้งภายในสันนิบาตอาหรับเพราะอียิปต์และจอร์แดน ตัดสินใจยอมรับมติ 242 ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นมติที่ถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากทั้งอิรัก ซีเรีย เลบานอน และ PLO แต่ท้ายที่สุดซึ่งกินเวลาไปกว่า 10 ปี กว่าที่ประเทศเหล่านี้จะมองเห็นถึงความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากมติของสหประชาชาติเพื่อต่อกรกับการหลอกลวงของอิสราเอล ใน ค..1969 สันนิบาตอาหรับได้จัดประชุมสุดยอดที่กรุงคาทูม เมืองหลวงของซูดาน โดยในที่ประชุมมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ในสงครามปี ค..1967 มติที่ผ่านการเห็นชอบในการประชุมครั้งนั้นได้ระบุเป็นข้อตกลงร่วมว่าประเทศอาหรับ  “จะใช้ความพยายามทางการเมืองร่วมกันทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับการทูต เพื่อขจัดผลของการรุกรานและเพื่อประกันถึงการถอดถอนกองกำลังผู้รุกรานอิสราเอลออกจากดินแดนอาหรับ ซึ่งทำการยึดครองมาตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ภารกิจนี้จะกระทำภายใต้กรอบของหลักการใหญ่ ซึ่งเป็นหลักการที่ประเทศอาหรับปฏิบัติตาม กล่าวคือ ไม่มีการสร้างสันติภาพกับอิสราเอล ไม่ยอมรับรัฐอิสราเอล ไม่เจรจากับอิสราเอล และยืนยันสิทธิของประชาชนชาวปาเลสไตน์ในประเทศของพวกเขาเอง

ในการประชุมสุดยอดที่กรุงราบาต (Rabat) ในปี ค.. 1974 PLO ได้รับการยอมรับจากสันนิบาตอาหรับให้เป็นตัวแทนของประชาชนชาวปาเลสไตน์เพียงกลุ่มเดียว แม้ว่าจะมีการคัดค้านจากจอร์แดนก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 1970 สันนิบาตอาหรับประสบความสำเร็จในการยุติการปะทะกันทางทหารอย่างนองเลือดระหว่าง PLO กับจอร์แดน ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบทบาทผู้นำของกามาล อับดุล นัซเซอร์ แห่งอียิปต์ ในระยะต่อมาสันนิบาตอาหรับได้ช่วยให้ PLO และเลบานอนบรรลุข้อตกลงหลายประการระหว่างกัน แต่ครั้งนี้ถือเป็นผลงานของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งรับหน้าที่เชิญฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองเลบานอนมาเจรจากันที่เมืองฎออีฟ ในปี ค..1976 จนมีการทำข้อตกลงสงบศึกกัน

วิกฤติใหญ่ที่เกิดขึ้นภายในสันนิบาตอาหรับเกิดขึ้น เมื่ออียิปต์ตัดสินใจลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอลที่แคมป์เดวิด (Camp David) ในปี ค..1979 ผลที่ตามมาคือ การประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับที่กรุงแบกแดด ตัดสินใจถอดถอนอียิปต์ออกจากการเป็นสมาชิก พร้อมทั้งย้ายสำนักงานใหญ่จากที่เคยอยู่ในอียิปต์ไปประจำอยู่ที่ ตูนิเซีย และเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งเลขาธิการสันนิบาตอาหรับถูกมอบให้กับคนที่ไม่ใช่ชาวอียิปต์ กล่าวคือ Shazili Qulaibi ชาวตูนิเซียได้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการต่อจาก Mahmoud Riad อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ โดยที่เลขาธิการก่อนหน้านี้สองคนต่างเป็นอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์เช่นกัน คือ Mahmoud Fawzi และ Abdul Rahman Azzam
วิกฤติการณ์ครั้งใหญ่อีกครั้งของสันนิบาตอาหรับเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติอ่าวเปอร์เซียในปี ค.. 1990 ความแตกแยกในหมู่ประเทศอาหรับนั้นเห็นได้ชัด ในขณะที่บางประเทศออกมาประณามการรุกรานคูเวตของอิรัก พร้อมทั้งร่วมมือกับกองกำลังพันธมิตรต่างชาติเพื่อหยุดการรุกรานของอิรัก แต่ก็มีประเทศอาหรับอีกจำนวนหนึ่งที่เรียกร้องให้จัดตั้งกองกำลังอาหรับร่วมเพื่อที่จะรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพร่วมกัน ตลอดจนรักษาเขตพรมแดนของทุกประเทศในภูมิภาค

ส่วนทางสันนิบาตอาหรับตัดสินใจประณามการรุกรานและเรียกร้องให้อิรักถอดถอนกองกำลังออกไปจากคูเวตทันที แต่ในระยะเวลาต่อมา บทบาทของสันนิบาตถูกลดลงไปอย่างมาก เมื่อปรากฏแน่ชัดว่า ประเทศอาหรับแต่ละประเทศต้องการตัดสินใจเองและการตัดสินใจนั้นจะต้องสอดคล้องกับผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ ต่อกรณีจุดยืนของแต่ละประเทศต่อปัญหาความขัดแย้งระหว่างคูเวตกับอิรัก รวมถึงกรณีการสร้างความสัมพันธ์ระดับปกติกับอิสราเอลในช่วงเวลาต่อมาหลังจากมีการเริ่มประชุมสันติภาพที่กรุงมาดริด(Madrid Peace Conference)

บทบาทของสันนิบาตอาหรับยิ่งไร้ประสิทธิภาพลงเมื่อสหรัฐฯ ได้เชิญประเทศอาหรับจำนวนมากเข้าร่วมการประชุมสันติภาพตะวันออกกลางที่กรุงมาดริด ซึ่งเป็นการประชุมที่ตั้งอยู่บนฐานการเจรจา (ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี) อีกทั้งสหรัฐฯ ยังนำเสนอสูตร ดินแดนแลกสันติภาพ (Land-For-Peace) เพื่อแก้ปัญหาปาเลสไตน์อีกด้วย ในการประชุมดังกล่าว สันนิบาตอาหรับไม่ได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมแม้แต่ในฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์

9
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ถือเป็นช่วงที่สันนิบาตอาหรับถูกลดบทบาท ต่อมาเมื่อเกิดสงครามที่สหรัฐฯรุกรานอิรักแต่ฝ่ายเดียวในปี 2003 โดยไม่คำนึงถึงมติของประชาคมโลก จึงเป็นอีกครั้งที่องค์กรเก่าแก่นี้ถูกมองข้ามอย่างมาก

        ปัจจุบัน กระแสการลุกฮือต่อสู้ของประชาชนอาหรับเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หรือที่เรียกกันว่า อาหรับ สปริง” ซึ่งแพร่กระจายขยายออกไปถ้วนทั่วภูมิภาค กลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ที่สันนิบาตอาหรับต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



อ้างอิง

          http://sameaf.mfa.go.th/th/organization/detail.php?ID=199

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น