วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่่านสู่ปัจจุบัน" พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว





"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่่านสู่ปัจจุบัน" พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

      เนื่องด้วยในเดือนสิงหาคมนี้เป็นวาระครบ  95 ปีแห่งวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี พระบรมราชินี  และอีกทั้งในเดือนสิงหาคม ยังจัดเป็นเดือนวันสตรีไทยอละวันแม่แห่งชาติอีกด้วย จึงทำให้ทางพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เห็นควรที่จะจัดโครงการสัมมนาเรื่องนี้ขึ้น






บทบาทของสตรีไทยในอดีต


         สตรีไทยมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่อดีต  ในทางการเมืองสตรีไทยในประวัติศาสตร์หลายคนได้มบทบาทในการสร้างชาติไทย  เช่น  พระสุพรรณกัลยา  พระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเสียสละพระองค์เป็นองค์ประกันที่เมืองหงสาวดี  เพื่อแลกกับอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรที่จะมากอบกู้เอกราชให้กับกรุงศรีอยุธยาในวันข้างหน้า


         ในสมัยรัตนโกสินทร์  สตรีไทยหลายคนได้มีบทบาทในการต่อสู้ทำสงครามเพื่อปกป้องบ้านเมือง  เช่น  คุณหญิงจัน  ภรรยาเจ้าเมืองถลาง (ภูเก็ต)  และนางมุกน้องสาว  ได้นำชาวบ้านเมืองถลางต่อสู้ต้านทานกองทัพพม่าเมื่อครั้งสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1  มีความดีความชอบจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรตามลำดับ

          ในสมัยรัชกาลที่ 3  คุณหญิงโม  ภรรยาของปลัดเมืองนครราชสีมา  ได้ใช้อุบายโดยให้หญิงชาวบ้านเลี้ยงสุราอาหารแก่ทหารลาว  ทำให้กองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ตายใจและปล่อยปละละเลยความปลอดภัยของค่ายทัพ เมื่อได้โอกาสก็นำอาวุธเข้าต่อสู้กับทหารฝ่ายลาวจนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากและแตกทัพหนีไป  ทำให้ฝ่ายไทยสามารถเอาชนะได้  ต่อมาคุณหญิงโมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวสุรนารี


         

  การแต่งกายในอดีต

           

            นอกจากนี้  เจ้านายสตรีบางพระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ครั้งแรกคือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอัครราชเทวีเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระบรมราชินีนาถ  ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440 และครั้งที่ 2 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวชเมื่อพ.ศ. 2499ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

       ในสมัยปัจจุบัน  มีสตรีไทยจำนวนมากได้มีบทบาททางการเมือง  เช่น  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  รัฐมนตรี นอกจากนี้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังมีสตรีที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ  เช่น  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นต้น

            ในด้านสังคมและวัฒนธรรม  สตรีไทยหลายท่านมีบทบาทด้านการประพันธ์  เช่น กรมหลวงนรินทรเทวี  (เจ้าครอกวัดโพ)  พระน้องนางเธอในรัชกาลที่ 1  ทรงประพันธ์จดหมายเหตุความทรงจำ  บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าจนถึง พ.ศ. 2363  ในช่วงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  นับเป็นการบันทึกข้อมูลประวัติศาสตร์ที่สำคัญสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

            

         นอกจากนี้  คุณพุ่มหรือบุษบาท่าเรือจ้าง  ธิดาของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี)  เป็นกวีหญิงที่มีความรู้ความสามารถ  เป็นศิษย์คนสำคัญของสุนทรภู่  และคุณสุวรรณ  ธิดาพระยาอุไทยธรรม (สกุล ณ บางช้าง)  และเป็นข้าหลวงกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ  ก็ได้เป็นศิษย์ของสุนทรภู่ด้วยเช่นกัน  ผลงานที่สำคัญ  เช่น  เพลงยาวจดหมายเหตุเรื่องกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพประชวร  บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ  และบทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง  ดอกไม้สดประพันธ์เรื่องชัยชนะของหลวงนฤบาลผู้ดี  และจิรนันท์  พิตรปรีชา  ได้รับรางวัลกวีซีไรต์  

สถานภาพผู้หญิงไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ..2475

        บทบาทของสตรีในประเทศไทยนั้นได้เพิ่มขึ้นกว่าในอดีตอย่างมากและพบว่า ผู้หญิงได้รับการยอมรับในสังคมมากขึ้นโดยประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ในทวีปเอเชียที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2475 อย่างไรก็ดี บทบาทด้านการพัฒนาชาติยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก ผู้หญิงยังคงมีบทบาทน้อยในการเมืองไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากความตระหนักเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่ไม่เพียงพอและจากทัศนคติของสังคม อย่างไรก็ดีพวกเธอก็ยังได้รับการยอมรับจากสังคมในภาพรวมมากกว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ


           ในแวดวงการประกอบการ ประชากรผู้หญิงไทยคิดเป็นแรงงาน 47% ของทั้งประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนผู้หญิงทำงานที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงไทยยังเผชิญกับปัญหาการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและความไม่เท่าเทียมทางเพศในเรื่องค่าจ้างเนื่องจากผู้หญิง "กระจุกตัวอยู่ในงานรายได้ต่ำ" ในด้านสวัสดิการหญิง ผู้หญิงไทยบางคนยังมีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อของการถูกสามีข่มขืน การค้ามนุษย์ การค้าประเวณี และรูปแบบอื่นของความรุนแรงในครัวเรือนและอาชญากรรมทางเพศ


           เพื่อนๆที่ไปสัมมนาในครั้งนี้
       
        ผู้หญิงไทยเฉลี่ยแล้วสมรสโดยมีอายุน้อยกว่าชาย และครัวเรือน 24% ที่ระบุว่าหญิงเป็น "หัวหน้าครอบครัวในปี พ.ศ. 2550 เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่า หลังสงครามเวียดนามประเทศไทยได้กลายมาเป็นจุดหมายของ "แหล่งพักผ่อนและสันทนาการ" และ "การท่องเที่ยวทางเพศ" สำหรับชายต่างประเทศ ซึ่งบางครั้งส่งผลให้มีการแต่งงานกับหญิงไทย ในหมู่ชายต่างประเทศที่มาแต่งงานเหล่านี้เป็นชายจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งแสวงหาคู่และการปลดภาระทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเกษียณ ขณะที่หญิงไทยแต่งงานกับชายต่างประเทศเพื่อชดใช้ชีวิตที่ผ่านมาที่เคยเป็นโสเภณี จากการถูกทิ้งโดยอดีตคนรัก และเป็นทางหนีจาก "ความยากจนและความไม่มีความสุข" แต่ไม่ใช่หญิงไทยทุกคนที่แต่งงานกับชายต่างประเทศจะเคยเป็นโสเภณีมาก่อน

     สถานภาพของหญิงในสังคมดีขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกได้ให้สิทธิแก่ชายและหญิงในการเลือกตั้ง หญิงได้รับเลือกเป็นผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกใน พ.ศ. 2475พ.ศ. 2525 มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้หญิงเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้ สตรีมีบทบาทในทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก โดยอัตราการมีงานทำของสตรีอยู่ที่ร้อยละ 44.1 ใน พ.ศ. 2547 ทำงานในภาคเกษตรกรรมสูงสุด (ร้อยละ 40.4) ตามมาด้วยภาคบริการและอุตสาหกรรม (ร้อยละ 40.2 และ 19.5 ตามลำดับ)สถิติสตรีเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง และประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างเพิ่มขึ้น และช่วยเศรษฐกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้างลดลง สตรีมีการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูงกว่าชาย สตรียังมีสถิติทำงานในแวดวงราชการสูงกว่าชายโดยอยู่ที่ร้อยละ 60.1


         
             

อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น