วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

บุคคลสำคัญในเอเชีย



ฮิเดะกิ โทโจ


     นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
     ดำรงตำแหน่ง      ๅ18 ตุลาคม พ.ศ 2484 – 7 เมษายน พ.ศ 2488
     สมัยก่อนหน้า       เจ้าชายโคโนเอะ ฟุมิมาโระ
     สมัยถัดไป           คุนิอะกิ โคะอิโซะ

     ข้อมูลส่วนบุคคล                                   

   เกิด       30 ธันวาคม พ.ศ 2427
             กรุงโตเกียว จักวรรดิญี่ปุ่น

   เสียชีวิต         23 ธันวาคม พ.ศ 2491 (63 ปี)
                                  กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

คู่สมรส         คะสึโกะ อิโต
ศาสนา       ชินโต                  
       
   ประวัติ
เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของญี่ปุ่น (สมัยที่ 40) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดที่เมืองโคจิมะชิชานกรุงโตเกียวในปี พ.ศ. 2427 เป็นบุตรคนที่สามของฮิเดโนะริ โทโจ นายทหารในกองทัพกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น พี่ชายสองคนแต่เสียชีวิตก่อนที่เขาจะเกิด ในปี พ.ศ. 2452 เขาได้สมรสกับคัตสุโกะ อิโตะ มีบุตร 3 คน และธิดา 4 คน

   เข้ารับราชการทหาร        

ฮิเดะกิ โทโจ สำเร็จการศึกษาระดับที่ 17 จากโรงเรียนนายร้อยแห่งกองทัพกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2458 ในอันดับที่ 42 จากจำนวนนักเรียนนายร้อย 50 คน ได้รับแต่งตั้งยศร้อยตรี สังกัดหหารราบ

ต่อมาในปีเดียวกันเขาได้สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดจาก Army War College จากนั้นในปี พ.ศ. 2462 เขาได้เลื่อนยศเป็นร้อยเอก บัญชาการกองร้อยทหารรักษาพระองค์ที่ 3 ต่อมาเขาได้ถูกส่งไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในฐานะทูตทหาร หลังจากกลับมาจากภารกิจ ในปี พ.ศ. 2463 เขาได้เลื่อนยศขึ้นเป็นพันตรี ในปีต่อมาเขาก็ถูกส่งไปทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายพลเรือนที่ประเทศเยอรมนี

การบริหารประเทศในภาวะสงคราม


ฮิเดะกิ โทโจเป็นนายทหารอาชีพที่มีเกียรติประวัติดีเด่น เป็นคนดีซื่อสัตย์และมีคุณสมบัติครบถ้วนของความเป็นสุภาพบุรุษตามมาตรฐาน ของซามูไร เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงทหารบกในรัฐบาลของเจ้าชายโคโนเอะ เมื่อที่ประชุมร่วมกับสมเด็จพระจักรพรรดิของรัฐบาลโน้มเอียงไปในทางการทำสงคราม เจ้าชายโคโนเอะได้กราบถวายบังคมลาออกจากนายกรัฐมนตรีและ โทโจ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นสืบต่อมา อันเป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการถล่มเพิร์ลฮาเบอร์ พร้อม ๆ บุกเข้าสู่อินโดจีน สยาม มลายู ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ในเวลาต่อ ๆ มา ด้วยชัยชนะติดต่อกันมาระยะหนึ่งก่อนจะเริ่มพ่ายแพ้และกลายเป็นฝ่ายรับหลังยุทธนาวีที่มิดเวย์ ในช่วงแรกๆจะมีขบวนการสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ข้าราชสำนัก และแม้กระทั่งเชื้อพระวงศ์บางองค์ ให้ปลดโทโจออกตามคำเรียกร้องของฝ่ายที่ต้องการจะหยุดยั้งสงครามไว้ แต่สมเด็จพระจักรพรรดิก็ไม่ทรงยอดปลดโทโจออกตามคำเรียกร้อง เพราะในระหว่างสงครามยังไงเสียญี่ปุ่นก็ต้องอาศัยโทโจดำเนินการรบ แต่เมื่อชัดเจนว่าญี่ปุ่นกำลังเพลี่ยงพล้ำในสงครามหลังจากยุทธการโอะกินะวะอันเป็นผลจากการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิและการประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นของสหภาพโซเวียต เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศให้ญี่ปุ่นยอมแพ้โดยไม่มีเงื่อนไขโทโจจึงลาออกและสมเด็จจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศยุติสงครามด้วยการยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างไม่มีเงื่อนไขโดยหวังว่าทางสหรัฐอเมริกาจะใจกว้างกว่สหภาพโซเวียต ช่วง 1 วันก่อนจักรพรรดิฮิโรฮิโตทรงประกาศยอมแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไข มีความพยายามจากนายทหารฝ่ายขวาจัดบางกลุ่มพยายามก่อการรัฐประหาร เพื่อให้กองทัพสู้ตายและไม่ยอมแพ้แต่ศัตรู ทหารกบฏบางส่วนก็ฆ่าตัวตายหนีความผิดแต่ไม่ประสบความสำเร็จ หลังจากจักรพรรดิทรงประกาศยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคมแล้ว

        ชีวิตส่วนตัว

ในระหว่างบริหารประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลานานในช่วงสงครามเขาเป็นตัวอย่างของนายทหารที่จงรักภักดีต่อสมเด็จพระจักรพรรดิอย่างยิ่งยวดมีหลักฐานหลายครั้งว่าเขาดำเนินนโยบายด้วยความเคารพในแนวทางที่สมเด็จพระจักรพรรดิมีพระประสงค์แม้จะมีเหตุผลด้านอื่นที่ดีกว่า หลังสงครามเขาถูกจับกุมตัวนำขึ้นพิจารณาคดีในศาลอาชญากรสงครามในวันที่ถูกจับเขาพยายามยิงตัวตาย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จคำให้การของเขาต่อศาลอาชญากรสงครามนั้นยืนยันความรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในการ ก่อสงคราม รวมไปถึงคำให้การที่ชี้ว่า สมเด็วจักรพรรดิฮิโรฮิโต มิได้ทรงเกี่ยวข้องกับการเริ่มสงคราม


     วาระสุดท้าย     
ฮิเดะกิ โทโจ พยายามกระทำอัตวินิบาตกรรม แต่ไม่สำเร็จ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง ฮิเดะกิ โทโจได้ถูกตัดสินลงโทประหารชีวิตในข้อหาอาชญากรรมสงครามในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ตามคำพิพากษาของศาลอาชญากรสงครามของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเถ้ากระดูกของโทโจอยู่ที่ศาลเจ้าญะสุกุนิภายหลังได้มีการสำรวจทรัพย์สินที่ทางสัมพันธมิตรอายัดไว้และพบว่าไม่มีทรัพย์สมบัติอะไรเหลืออยู่เลยนอกจากบ้านเก่าๆหนึ่งหลังฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตัดสินใจส่งคืนให้กับภรรยาหม้ายของโตโจไปทำไมต้องเป็นฮิโรชิม่า และนางาซากิ??
            
        สงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยอมแพ้ เนื่องจากโดนระเบิดนิวเคลียร์ไป 2 ลูก เคยสงสัยไหมว่า...ทำไมต้องเป็นฮิโรชิมา นางาซากิ ทำไมไม่ใช่โตเกียวหรือโอซาก้า ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่กว่าฮิโรชิมา ... ทำไม?

ในปีค.ศ.1920 ญี่ปุ่นประสบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จนรัฐบาลเริ่มอ่อนแอ แนวคิดเรื่องการปกครองแบบเผด็จการ ของยุโรป เริ่ม ระบาดในหมู่ขุนทหารญี่ปุ่น และยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่อยู่ในสภาวะอับจนทางเศรษฐกิจด้วย กองทัพเริ่มแยกตัวเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของรัฐบาล



จนในปี ค.ศ.1931 กอง ทัพญี่ปุ่นก็เข้ายึดแมนจูเรียของจีน โดยที่รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ทราบเรื่อง จึงเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่ากองทัพไม่ยอมรับอำนาจของรัฐบาล จากนั้นอีก ปี กองทัพญี่ปุ่นได้ก่อการรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาล แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ แต่เหล่าขุนพลเหล่านั้นกลับยิ่งมีอิทธิพลมากขึ้น

จนในปี ค.ศ. 1941 นาย พลฮิเดกิ โตโจ นายทหารคนสำคัญก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และนับตั้งแต่นั้นมาประเทศญี่ปุ่น ก็มีรูปแบบการบริหาร แบบฟาสซิสต์เหมือนในยุโรป

ช่วง เริ่มสงครามใหม่ๆ ญี่ปุ่นก็ท่าทางจะไปได้สวย บุกไปถล่มอ่าวไข่มุก (Pearl Harbour) ที่เกาะฮาวายของอเมริกา โดยที่อเมริกาทำอะไรไม่ได้เลย ในแถบเอเชียไม่ว่าจะไปบุกที่จีน เกาหลี ไม่ว่าที่ไหน ๆ ไม่มีใครต้านญี่ปุ่นได้ กองกำลังของญี่ปุ่นเข้มแข็งมาก

แต่...พอถึงช่วง ปลายสงครามโลกครั้งที่ ประเทศเกาะหรือจะมาต้านประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกาได้ ญี่ปุ่นเริ่มอ่อนแอ เรือบรรทุกนํ้ามันที่นำนํ้ามันมาจากประเทศอินโดนีเซียก็โดนโจมตี เชื้อเพลิงไม่มีเรือที่ขนเสบียงก็โดนตี ...จมทะเลก่อนจะไปถึงจุดหมาย คนญี่ปุ่นที่ไปรบในแถบอาเซียนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จากการขาดเสบียงอาหารและยารักษาโรค

ในประเทศญี่ปุ่น เครื่องบินอเมริกาบินมาถล่มญี่ปุ่นทุกคืน เมืองใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นโตเกียว โอซาก้า นาโกย่าโดนถล่มแทบจะเป็นเมืองร้าง ทั้งทหารและพลเรือนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แสนยานุภาพของเครื่องบินรบญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามก็แทบจะทำอะไรเรือรบอเมริกา ไม่ได้เลย เมื่อสุนัขจนตรอก มันทำได้อย่างเดียวคือ วิ่งชนเพื่อเอาตัวรอด

หน่วยรบพิเศษ คามิกาเซะ ก็เกิดขึ้นมา แต่ก่อนที่จะชนเรือรบอเมริกาได้ ก็โดนยิงร่วงตกก่อนซะเป็นส่วนมาก เมืองโตเกียว และ เมืองทหารของญี่ปุ่นเกือบทุกแห่ง ตอนปลายสงคราม...อย่างที่บอกไปแทบจะเป็นเมืองร้าง
     

แต่...ยังมีอยู่อีก เมืองหนึ่ง ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมทางการทหาร มีโรงงานมากมาย เด็กๆ ญี่ปุ่นตัวน้อยๆ จำนวนมากถูกเกณฑ์มาสร้างอาวุธนี่นั่น ... สงครามก็ทำมานานแล้ว แต่เมืองนี้แทบจะไม่ได้รับอิทธิพลจากสงครามเลย...ใช่แล้ว...เมืองใหญ่เมือง นี้คือ ฮิโรชิมา ตั้งแต่อ่าวไข่มุกของอเมริกาโดนญี่ปุ่นถล่มยับเยิน ก็มีโครงการเกิดขึ้นโครงการหนึ่ง...เป็นโครงการที่เร่งเครื่องไปข้างหน้า อย่างลับๆ โครงการนั้นคือ โครงการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ประสบผลสำเร็จในกลางปี คศ. 1945 ก่อนที่อเมริกาจะนำไปทิ้งที่ ฮิโรชิมา เพียง สัปดาห์เท่านั้น ทำไมอเมริกาต้องรีบเอาไปทิ้ง

เหตุผลที่ต้องรีบก็มีหลายอย่าง ต้องการยุติสงครามให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดการสูญเสียของอเมริกา ต้องการชนะญี่ปุ่นก่อนที่โซเวียต(รัสเซียปัจจุบัน) จะเข้าร่วมสงครามอย่างจริงจัง... เดี๋ยวต้องการทดสอบแสนยานุภาพของระเบิดชนิดใหม่  แล้วทำไมเลือกฮิโรชิมา ความจริงเมืองที่อเมริกาเลือกไว้เป็นเป้าหมายของระเบิดมีเกือบ 20 แห่ง แล้วก็ค่อยๆ ตัดออกไปจนเหลือ 2-3 เมือง หนึ่งในนั้นคือ ฮิโรชิมา เหตุผลที่อเมริกาเลือก ฮิโรชิมา ก็คือ ฮิโรชิมาเป็นเมืองทหาร มีกองทัพทหาร โรงงานผลิตอาวุธมากมาย แต่ยังไม่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ฮิโรชิมาตั้งอยู่ในที่ราบ เหมาะสมที่จะทดสอบแสนยานุภาพของระเบิด แล้ว...

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ยื่นคำขาดให้ญี่ปุ่นยอมจำนน แต่ญี่ปุ่นไม่สนใจ และแล้ว...วันที่ 6 เดือนสิงหาคม คศ. 1945 เวลา 8:15 นาฬิกา ระเบิดนิวเคลียร์(ทดลอง)ที่มีชื่อว่า Little Boy ก็ได้นำไปทิ้งที่ เมืองฮิโรชิมา

เมืองฮิโรชิมา เป็นเมืองที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นและแม้ว่าชาวญี่ปุ่นจะรู้ล่วงหน้าว่า สหรัฐฯ จะทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ แต่ก็หามีใครตะหนักถึงอนุภาพของมัน เมื่อเอนอลาเกย์ ถึงที่หมาย นักบินจึงปล่อยระเบิดนิวเคลียร์ และรีบออกจากที่หมายโดยเร็วที่สุด ระเบิดนิวเคลียร์เกิดปฎิกิริยาลูกโซ่ และระเบิดกลางอากาศขณะที่ลอยอยู่เหนือเมืองฮิโรฮิมา ที่ความสูง 600 เมตร เกิดเป็นควันขาวอมเขียวพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นรูปดอกเห็ดสูงถึง 10 กิโลเมตร อันเป็นลักษณะเฉพาะของระเบิดนิวเคลียร์ และแสงสว่างอันเจิดจ้า พลังงานอันมหาศาลที่ถูกปลดปล่อยออกมาในรูปของแรงอัดอากาศ จากการระเบิด ความร้อนและกัมมันตภาพรังสี โดยที่ศูนย์กลางของการระเบิดนั้นมีอุณหภูมิมิสูงถึง 3800 องศาเซลเซียส

ผลของระเบิดนิวเคลียร์ทำให้เมืองฮิโรชิมา มีผู้เสียชีวิตทันทีจากการระเบิด ประมาณ 70,000 คน มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตภายหลังในปีเดียวกันอีกราว 70,000 คน และผู้ที่เสียชีวิตภายหลังนี้ต้องได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสก่อน เสียชีวิต จากแผลไฟลวก และผลจากกัมมันตภาพรังสี และประมาณอีก 60,000 คนเสียชีวิตในอีก ปี ถัดมา ส่วนใหญ่เป็นผลจากกัมมันตภาพรังสี รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตกว่า 200,000 คน            
           
ประธานาธิบดี ทรูแมน แห่ง สหรัฐอเมริกา ก็ได้ยืนคำขาดอีกครั้งเพื่อให้ญี่ปุ่นยอมจำนนแต่โดยดี แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเพิกเฉย ในที่สุด ทรูแมน จึงได้สั่งให้ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มญี่ปุ่นเป็นลูกที่ และระเบิดลูกนี้ มีชื่อว่า "แฟทแมน" เพราะว่าขนาดอ้วนและใหญ่ โตกว่าลูกแรกเป้าหมายของระเบิดลูกที่ นี้ ก็คือ เมืองนางาซากิ และแล้วในวันที่ สิงหาคม ปี ค.ศ.1945 คืออีก วันถัดมาโศกนาฎกรรมของมนุษยชาติ อีกฉากหนึ่งก็ได้อุบัติขึ้น เมืองนางาซากิ พินาศย่อยยับในพริบตาด้วยอำนาจของเจ้าคนอ้วน หรือ แฟทแมนในที่สุดรัฐบาลญี่ปุ่นก็ประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขทั้งนี้เพื่อ รักษาชีวิตของประชาชนไว้ เพราะไม่แน่ว่าอาจจะมีระเบิดลูกที่ ทำให้เมืองนางาซากินั้น มีชะตากรรมไม่แพ้กัน ผู้เสียชีวิตในทันที 70,000 คน บาดเจ็บอีกราว 80,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ผลของกัมมันตภาพรังสี ยังทำให้ผู้ที่ได้รับรังสีกลายเป็นมะเร็งในภายหลังได้อีกด้วย ในส่วนนี้ไม่สามารถประเมินได้แน่นอนว่ามีจำนวนเท่าใด ยังไม่รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรม อันเป็นผลจากกัมมันตภาพรังสีที่ตกค้างอีกด้วย  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น