วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนรายงานที่ดี


การเขียนรายงานที่ดี




การเขียนรายงาน  คือ  การเขียนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลในหน่วยงาน  ซึ่งรายงานแต่ละประเภทนั้น  ก็จะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป  รายงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงาน  และการที่จะเสนอการเขียนรายงานนั้นให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็วนั้น  ควรที่จะมีการวางแผนกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของแต่ละรายงานไว้ด้วย

1.  ความหมายและความสำคัญของรายงาน
    รายงาน  คือ  การเสนอรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลของหน่วยงาน  เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงานทั้งในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชน  เพราะรายงานจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานทราบนโยบาย  เป้าหมาย  ผลการปฏิบัติงาน  ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงาน  ซึ่งการทำรายงานมีจุดมุ่งหมายคือ
    1.1  เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษามีนิสัยรักการเขียน
    1.2  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ ความคิดริเริ่ม รู้จักแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
    1.3  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
    1.4  เพื่อฝึกให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างถูกต้อง
    1.5  เพื่อส่งเสริมและฝึกทักษะทางภาษา
    1.6  เพื่อปูพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงขึ้น


2.  ประเภทของรายงาน
    2.1  รายงานธรรมดา  หรือรายงานทั่วไป  เป็นรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นของบุคคลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ หรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    2.2  รายงานทางวิชาการ  เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย  และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์
            2.2.1  ภาคนิพนธ์หรือรายงานประจำภาค  เป็นรายงานที่เรียบเรียงและรวบรวมจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ
            2.2.2  วิทยานิพนธ์  เป็นรายงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อเท็จจริงอย่างละเอียดลึกซึ้งรอบคอบตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย
    ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน
    -  หน้าปก  อาจเป็นกระดาษแข็งสีต่าง ๆ
    -  หน้าชื่อเรื่อง  ควรเขียนด้วยตัวบรรจงชัดเจนถูกต้อง เว้นระยะริมกระดาษด้านซ้ายและขวามือให้เท่ากัน
    -  คำนำ  ให้เขียนถึงมูลเหตุจูงใจที่เขียนเรื่องนั้นขึ้น  แล้วจึงบอกความมุ่งหมายและขอบเขตของเนื้อเรื่องในย่อหน้าที่สอง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้กล่าวคำขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำการค้นคว้านั้นจนเป็นผลสำเร็จ
    -  สารบัญ  หมายถึง  บัญชีบอกบท
    -  สารบัญตาราง  ให้เปลี่ยนคำว่า "บทที่"  มาเป็น "ตารางที่"
    -  สารบัญภาพประกอบ  เพื่อเสริมคำอธิบายเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์มากขึ้น
    -  ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง  ต้องลำดับความสำคัญของโครงเรื่องที่วางไว้ ถ้าเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเป็นบท
    -  อัญประกาศ  เป็นส่วนประกอบเนื้อเรื่องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ  โดยนำข้อความที่ตัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาเขียนไว้ในรายงานของตน
    -  เชิงอรรถ  คือ  ข้อความที่ลงไว้ตรงท้ายสุดของหน้า เพื่อบอกที่มาของข้อความที่ยกมาหรืออธิบายคำ
    -  ตารางภาพประกอบ  ให้แสดงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องด้วย
    -  บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือ  สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการเรียนและการค้นคว้า
    -  ภาคผนวก  คือ  ข้อความที่นำมาเพิ่มเติมในตอนท้ายของรายงาน  เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
    -  ดรรชนี  คือ  หัวข้อย่อย  หรือบัญชีคำที่นำมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือ  โดยจัดเรียงลำดับตั้งแต่ตัว ก-ฮ และบอกเลขหน้าที่คำนั้นปรากฎอยู่ในเรื่อง ดรรชนีจะช่วยผู้อ่านในกรณีที่ต้องการค้นหาคำหรือหัวข้อย่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

3.  การเขียนรายงาน
    1.  ควรเขียนให้สั้นเอาแต่ข้อความที่จำเป็น
    2.  ใจความสำคัญควรครบถ้วนเสมอว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
    3.  ควรเขียนแยกเรื่องราวออกเป็นประเด็น ๆ 
    4.  เนื้อความที่เขียนต้องลำดับไม่สับสน
    5.  ข้อมูล  ตัวเลข  หรือสถิติต่าง ๆ ควรได้มากจากการพบเห็นจริง
    6.  ถ้าต้องการจะแสดงความคิดเห็นประกอบ ควรแยกความคิดออกจากตัวข่าวหรือเรื่องราวที่เสนอไปนั้น
    7.  การเขียนบันทึกรายงาน  ถ้าเป็นของทางราชการ  ควรเป็นรูปแบบที่ใช้แน่นอน
    8.  เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว  ต้องทบทวนและตั้งคำถามในใจว่า ควรจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนใดทิ้ง  หรือตอนใดเขียนแล้วยังไม่ชัดเจน ก็ควรจะแก้ไขเสียให้เรียบร้อย

4.  การเขียนรายงานจากการค้นคว้า
    4.1  รายงานค้นคว้าเชิงรวบรวม  เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเรียบเรียงปะติดปะต่อกันอย่างมีระบบระเบียบ
    4.2  รายงานค้นคว้าเชิงวิเคราะห์  การนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาวิเคราะห์ หรือค้นหาคำตอบในประเด็นให้ชัดเจน

5.  วิธีการนำเสนอรายงาน
    -  รายงานด้วยปากเปล่า (Oral Reports)  หรือเสนอด้วยวาจา  โดยการเสนอแบบบรรยายต่อที่ประชุมต่อผู้บังคับบัญชา ฯลฯ  ในกรณีพิเศษเช่นนี้ ควรจัดเตรียมหัวข้อที่สำคัญ ๆ ไว้ให้พร้อม  โดยการคัดประเด็นเรื่องที่สำคัญ  จัดลำดับเรื่องที่จะนำเสนอก่อนหน้าหลังไว้
    -  รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Reports)  มักทำเป็นรูปเล่ม  เป็นรูปแบบการนำเสนออย่างเป็นทางการ (Formal Presentation)

6.  ลักษณะของรายงานที่ดี
    1.  ปกสวยเรียบ
    2.  กระดาษที่ใช้มีคุณภาพดี มีขนาดถูกต้อง
    3.  มีหมายเลขแสดงหน้า
    4.  มีสารบัญหรือมีหัวข้อเรื่อง
    5.  มีบทสรุปย่อ
    6.  การเว้นระยะในรายงานมีความเหมาะสม
    7.  ไม่พิมพ์ข้อความให้แน่นจนดูลานตาไปหมด
    8.  ไม่การการแก้ ขูดลบ
    9.  พิมพ์อย่างสะอาดและดูเรียบร้อย
    10. มีผังหรือภาพประกอบตามความเหมาะสม
    11. ควรมีการสรุปให้เหลือเพียงสั้น ๆ แล้วนำมาแนบประกอบรายงาน
    12. จัดรูปเล่มสวยงาม


7.  การเลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ในการนำเสนอ
    มีโสตทัศนูปกรณ์ชนิดต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ในการนำเสนอ  แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้สื่อหรืออุปกรณ์ชนิดใดแล้ว  ควรวิเคราะห์เสียก่อนว่าสื่อหรืออุปกรณ์ใดจะเหมาะสมและสอดคล้องกับเรื่องที่จะนำเสนอนั้น ๆ โดยวิเคราะห์จาก
    -  ขนาดและลักษณะของผู้ฟัง
    -  เวลาที่ใช้ในการนำเสนอ
    -  เวลาสำหรับการผลิตสื่อ
    -  งบประมาณ

    โสตทัศนูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอ  ควรจะสอดคล้องและเหมาะสมกับเรื่องราวในโลกยุคปัจจุบัน  เราอาจจัดหามาได้หลาย ๆ อย่างเช่น
    -  เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ
    -  ชอล์ก/กระดานดำ
    -  ฟลิปชาร์ต/แผนภูมิ/ของจริง
    -  แผนผัง/แผนที่
    -  เครื่องฉายไมโครฟิล์ม
    -  เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ/ภาพถ่าย/แผ่นใส
    -  เครื่องฉายภาพยนตร์ทุกชนิด
    -  ทีวี/วีดีโอ/ภาพจากวีดีโอ
    -  เครื่องฉายสไลด์/ภาพสไลด์/มัลติวิชั่น
    -  ภาพจากจอคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของการเตรียมโสตทัศนูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอ  จะเพิ่มอรรถรสในการบรรยายรายงานด้วยวาจาเพราะสามารถช่วยในเรื่อง  ดังนี้
    1.  ผู้รับรายงานสามารถเห็นและคิดได้โดยตรงในทันที
    2.  มีความกระจ่างชัดและสามารถเน้นจุดสำคัญเป็นพิเศษได้ตรงจุด
    3.  ช่วยในการสรุปประเด็น




การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน

        1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน 
             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน
             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้
                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง
                    ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง  บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด  ใครเป็นครูผู้สอน



 2.  การเขียนคำนำ
             การเขียน “คำนำ” อยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน  เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง


3.  การเขียนสารบัญ   การเขียน  “สารบัญ”  ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท  เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียงตามลำดับ การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว  และข้อความในสารบัญ จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป  1.1  นิ้ว  เริ่มตั้งแต่ คำนำ  บท  และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด  ตอนใด  อยู่หน้าใด


การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน
        การเขียนเนื้อเรื่อง  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด   เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้ เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว  ไว้กลางหน้ากระดาษ   ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา  ให้เว้น  1 นิ้ว  จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น  1.5  นิ้ว  จากขอบขวาของหน้ากระดาษเข้ามา  เว้น  1 นิ้ว  ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น 6  ช่วงตัวอักษร  เขียนตัวที่  7



การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม
        การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน  เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท




     อ้างอิง



วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

สันนิบาตอาหรับ



    สันนิบาตอาหรับ




ข้อมูลทั่วไป

สันนิบาตอาหรับ (The League of Arab States) หรือ Arab League เป็นองค์กรภูมิภาคของประเทศอาหรับ จัดตั้งบนพื้นฐานทางชาติพันธุ์ ภาษาและวัฒนธรรมอาหรับ (Arab Based) ก่อตั้งเมื่อ 22 มีนาคม 1945 โดย ประเทศ ได้แก่ อียิปต์ อิรัก เลบานอน ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย จอร์แดน และเยเมน

การจัดตั้งสันนิบาตเป็นแนวคิดริเริ่มของอังกฤษ เพื่อรวมตัวกลุ่มอาหรับให้สนับสนุนฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ การรวมตัวกันเป็นไปอย่างหลวมตั้งแต่แรก เพื่อให้องค์กรเป็นเวทีของการแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (solidarity) และเป็นสัญลักษณ์ของประชาคมอาหรับ แต่มิได้ต้องการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบบูรณาการ (integration หรือ unification) แบบสหภาพยุโรป (แม้จะต้องการให้มีกลไกคล้ายสหภาพยุโรป เช่น Arab Parliament Arab Court Arab Security Council และ Arab Customs Union)

ปัจจุบันมีสมาชิก 22 ประเทศ (รวมทั้งปาเลสไตน์) และประเทศสมาชิกทุกประเทศเป็นสมาชิก OIC สมาชิก ในแอฟริกาเป็น สมาชิก AU (ยกเว้นโมร็อกโก) และบางส่วนเป็นสมาชิกองค์กรระดับอนุภูมิภาค (sub regional organization) เช่น GCC และ Arab Maghreb Union (UMA) นอกจากนี้ยังมีสมาชิกผู้สังเกตการณ์ อีก ประเทศ ได้แก่ บราซิล เอริเตรีย อินเดีย และเวเนซุเอลา
สมาชิกซึ่งมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย โดยในอดีตอิรัก และลิเบียก็นับเป็นประเทศสมาชิกที่มีบทบาทสูง

สำนักงานเลขาธิการ ตั้งอยู่ที่ กรุงไคโร สาธารณรัฐอียิปต์
เลขาธิการคนปัจจุบัน คือ นาย Nabil El-Araby

เป้าหมายและภารกิจที่สำคัญ

กล่าวได้ว่าเป้าหมายหลักขององค์กร ได้แก่เป้าหมายทางการเมือง เพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของโลกอาหรับ (รวม ทั้ง ผลักดัน Arab Agenda และพิจารณา Arab Issues) ต่าง ๆ
-  เป้าหมายสำคัญของการก่อตั้งในระยะแรก (ซึ่งเป็นช่วงเพิ่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2) ได้แก่ การเรียกร้องเอกราชของ ประเทศอาหรับที่ยังไม่ได้รับเอกราชจากประเทศอาณานิคม และการต่อต้านกระบวนการฟื้นฟูชาติยิว (Zionism) เพื่อมิให้มีการจัดตั้งรัฐ ยิวในปาเลสไตน์ ทั้งนี้ การรวมตัวกันเกิด จากรากฐานแนวคิดอาหรับนิยม (Arabism) ชาตินิยมอาหรับ (Arab Nationalism) และการรวมอาหรับ (Pan-Arabism) และการต่อต้านลัทธิการล่าอาณานิคม (Anti-colonialism) นอกจากนั้น ยังมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนอำนาจต่อรองทางการเมืองของประเทศอาหรับ และป้องปรามการรุกรานจากภายนอก
-  เป้าหมายสูงสุดใน ปัจจุบัน ได้แก่ การสนับสนุนปาเลสไตน์ เพื่อให้มีการตั้งรัฐเอกราชปาเลสไตน์ (ใน West Bank และ Gaza โดยมีเยรูซาเล็ม ตะวันออกเป็นเมืองหลวง)
-  เพื่อ สร้างความเป็น เอกภาพของกลุ่มประเทศอาหรับ (Arab Unity) โดยเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในด้านการป้องกันร่วม (joint defense) การทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
-  เพื่อ เป็นกลไกประสานนโยบายเพื่อความร่วมมือ และไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างสมาชิก และระหว่างสมาชิกกับประเทศที่สามกลไกขององค์กร

กลไกขององค์กร

กลไก ขององค์กรตามที่ได้ระบุไว้ในกฎบัตรของสันนิบาตประกอบไปด้วย สถาบันหลัก คือ คณะมนตรีสันนิบาต คณะกรรมการถาวรและสำนักงานเลขาธิการ นอก จากนั้นยังมีหน่วยงานอื่นๆที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาตามสนธิสัญญา Joint Arab Defence Treaty และยังมีการจัดตั้งหน่วยงานชำนัญพิเศษ (specialized agency) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านสังคมเศรษฐกิจ และการจัดตั้งศูนย์สารนิเทศ (Information Center) ในประเทศต่าง ๆ                                                      
1     .              คณะมนตรีสันนิบาต (Arab League Council/Council of Arab League)
คณะมนตรีสันนิบาต ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในสันนิบาตอาหรับ ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้งหมด และผู้แทนปาเลสไตน์
คณะมนตรีฯ โดยปกติจะประชุมปีละ ครั้ง เลขาธิการฯ จะเป็นผู้เรียกประชุม และประธานการประชุมจะผลัดเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิก ทั้งนี้ ในการลงมติในที่ประชุม ในกรณีที่มิได้มีมติเป็นเอกฉันท์ มติที่ได้รับจากการลงคะแนนเสียงข้างมาก (majority decision) จะมีผลผูกพันเฉพาะประเทศที่ออกเสียงสนับสนุนมติ นั้น ๆ เท่านั้น คณะมนตรีฯ จะแต่งตั้งคณะกรรมาธิการเฉพาะด้าน ซึ่งปัจจุบันมี 16 คณะ ที่สำคัญได้แก่ คณะกรรมาธิการด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม กฎหมาย และคณะกรรมาธิการสตรีอาหรับ เป็นต้น

2      .              คณะกรรมการถาวร (Permanent Committee)
ประกอบด้วยคณะกรรมการด้านต่าง ๆที่เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก โดยคณะกรรมการสันนิบาตฯ จะเป็นผู้คัดเลือกประธานกรรมการของแต่ละด้าน มีวาระคราวละ ปี และ Permanent Committee มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
3      .              สำนักงานเลขาธิการ (General Secretariat)
Arab League มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงไคโร อียิปต์ ปัจจุบันมีนาย Nabil el-Araby อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอียิปต์ เป็นเลขาธิการ (Secretary General) เข้ารับตำแหน่ง เมื่อ15 พฤษภาคม 2554 คณะมนตรีสันนิบาตฯ มีหน้าที่แต่งตั้งเลขาธิการฯ มีวาระคราวละ ปี หน้าที่หลักของเลขาธิการฯ คือ ปฏิบัติงานด้านบริหารองค์กร และงานด้านการเมือง
เลขาธิการฯ ตั้งแต่ก่อตั้งสันนิบาตฯ จนถึงปัจจุบัน มีดังนี้
- Mr. Abdulrahman Azzam ชาวอียิปต์ ปี 1945-1952
- Mr. Mohamed Abdul Khalek Hassouna ชาวอียิปต์ ปี 1952-1972
- Mr. Mohamed Riyad ชาวอียิปต์ ปี 1972-1979
- Mr. Al-Shazly Al-Kaleiby ชาวตูนีเซีย ปี 1979-1990
- Mr. Esmat Abdul Maguid ชาวอียิปต์ ปี 1991-2001
- Mr. Amre Mahmoud Moussa ชาวอียิปต์ ปี 2001-2010
- Mr. Nabil el-Araby ชาวอียิปต์ ปี 2011-ปัจจุบัน

การประชุม
การประชุมสุดยอด (Summit of Heads of States หรือ Arab Summit) จัดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 1964 (ปี 1946-1956 มีการจัดการประชุมสุดยอดฯ ครั้ง อย่างไม่เป็นทางการ) ทั้งนี้กำหนดการประชุมสุดยอดของสันนิบาตอาหรับไม่ค่อยแน่นอน เนื่องจากปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค การประชุมสุดยอดฯ ครั้งที่ 22 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2010 (2553) ณ เมืองเซอร์เต้ ประเทศลิเบีย และการประชุมสุดยอดครั้งต่อไป (ครั้งที่ 23) จัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2012 (2555) ณ กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก

นอกจากนั้น ยังมีการประชุม Council of Ministers ซึ่ง มีการจัด ประชุมปีละ ครั้ง และ Standing Committees ด้าน ต่าง ๆ 16 ด้าน เช่น Cultural Committee, Health Committee, Social Committee และ Information Committee เป็น ต้น


กลไกและหน่วยงานชำนัญพิเศษที่สำคัญอื่น ๆ

องค์กรด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม (Arab League Education, Cultural and Scientific Organization – ALESCO), Special Bureau for Boycotting Israel, Arab Administrative Development Organization และ Arab Fund for Technical Assistance to African and Arab Countries เป็นต้น

ภารกิจและประเด็น สำคัญ   ของ Arab League ในระยะปัจจุบัน ได้แก่

การสนับสนุนปาเลสไตน์และสร้างสันติภาพตะวันออกกลาง ปัจจุบันสันนิบาตฯ ยึดแนวทาง Arab Peace Initiative (2002) ซึ่งได้รับ การรับรองในการประชุมสุดยอดที่กรุงเบรุต เมื่อเดือนมีนาคม 2002 ซึ่งเสนอให้อิสราเอลถอนตัว จากดินแดนอาหรับที่ถูกยึดครองในสงครามปี 1967 (Gaza West Bankที่ราบสูง Golan และพื้นที่ตอนใต้ของ เลบานอน) เพื่อแลกกับการลงนามสัญญาสันติภาพ และสถาปนาความสัมพันธ์ขั้นปกติกับประเทศอาหรับ (ตามหลักการ Land for Peace)
การเพิ่มพูนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยมีแนวคิดในการจัดตั้ง Arab Free Trade Zone เพื่อ นำไปสู่การจัดตั้ง Arab Customs Union ในปี 2015 สนับสนุนการ ปฏิรูปทางเศรษฐกิจของสมาชิกในด้านนโยบายและกฎระเบียบทางการค้า และมาตรการทางภาษี เป็นต้น

การปฏิรูปทางการเมือง/ สังคม/เศรษฐกิจในโลกอาหรับ ทั้ง นี้โดย Arab League เห็นว่าการปฏิรูปในตะวันออกกลางควรเป็นไปตามวิถีทางของอาหรับ (Arab Way) โดยมี Arab League เป็น แกนนำและเป็นผู้ กำหนดทิศทาง ประเทศอาหรับเห็นพ้องว่าจะต้องมีการปฏิรูป ทั้งการพัฒนาประชาธิปไตย การสร้างความโปร่งใส การส่งเสริมภาคประชาสังคม และสิทธิสตรี แต่การดำเนินการต่าง ๆ ต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขและสภาพการณ์ภายในของแต่ละประเทศ

การปฏิรูปโครงสร้าง/กลไกขององค์กร ประเทศสมาชิก เช่น ซาอุดีฯ อียิปต์ กาตาร์ ลิเบีย ซูดาน ได้เสนอแนวคิดการปฏิรูปกลไกขององค์กร และแก้ไขกฎบัตร เช่น แก้ไขให้ข้อมติมีผลผูกพันในทางปฏิบัติแก่ทุกประเทศ มิใช่เพียงประเทศที่ออกเสียงสนับสนุนดังเช่นในปัจจุบัน ให้ NGO มีส่วนร่วมในกิจกรรมของ องค์กร และการเปิดรับประเทศที่ไม่ใช่อาหรับเป็นผู้สังเกตการณ์ การจัดตั้งรัฐสภาอาหรับ การตั้งศาลอาหรับ และการตั้งกองกำลังร่วมอาหรับและจัดตั้ง Security Council เป็นต้น
   
   นอกจากนี้ ขณะนี้สันนิบาตฯ ให้ความสำคัญแก่ประเด็นเร่งด่วนอื่นๆ ของโลกอาหรับได้แก่ การพยายามแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีในดาร์ฟูของซูดาน การสร้าง เสถียรภาพในอิรัก การต่อต้านการก่อการร้าย และการสนับสนุนสันติภาพ

สันนิบาตอาหรับ หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สันนิบาตแห่งรัฐอาหรับ (League of Arab Staes) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.. 1945 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของประเทศอาหรับทั้งหลาย โดยมีเป้าหมายหลักขององค์กร คือ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งทางด้านการป้องกัน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การติดต่อสื่อสาร และวัฒนธรรม เหตุที่ทำให้รัฐอาหรับต่าง ๆ ต้องเข้ามารวมตัวกันนั้น มีรากเหง้ามาจากแนวคิดชาตินิยมการรวมอาหรับ (Pan-Arab Nationalism)และแนวคิดต่อต้านการล่าอาณานิคม (Anti-colonialism) เป็นสำคัญปัจจุบันสันนิบาตอาหรับมีสมาชิกทั้งสิ้น 22 ประเทศ

นับจากการเริ่มก่อตั้งจนมาถึงยุคปัจจุบัน องค์การสันนิบาตอาหรับประสบความสำเร็จในการทำงานในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความร่วมมือกันทางสังคม ซึ่งได้มีการก่อตั้งคณะกรรมาธิการในคณะมนตรีและหน่วยงานชำนาญพิเศษขึ้นมาอย่างมากมายที่ทำให้เกิดการประสานความร่วมมือกันทางสังคม และทำให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประเทศสมาชิก นอกจากนั้น สันนิบาตอาหรับยังทำหน้าที่เสมือนเป็นเวทีให้ประเทศต่างๆ ได้มาพบปะเจรจากัน แสดงออกซึ่งท่าทีของตนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มีระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และในการสนับสนุนให้เกิดรัฐปาเลสไตน์อิสระขึ้นมา

ในส่วนที่เป็นปัญหาปาเลสไตน์จะเห็นได้ว่า เมื่อสหประชาชาติมีมติให้แบ่งปาเลสไตน์ใน ค..1947 สันนิบาตอาหรับได้จัดประชุมขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายครั้งจนได้ข้อสรุปในการตัดสินใจให้กองทัพอาหรับเข้ามาประจำการในปาเลสไตน์เพื่อที่จะปกป้องดินแดนและประชาชน การเคลื่อนไหวครั้งนั้นได้นำไปสู่สงครามครั้งแรกระหว่างยิวกับอาหรับในปี ค..1948 โดยผลของสงครามดังกล่าวทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งจนพื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นของอิสราเอล ส่วนดินแดนชายฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน (West Bank) และเยรูซาเล็มตะวันออกได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจอร์แดน ในขณะที่ดินแดนชนวนกาซ่า (Gaza Strip) ถูกปกครองโดยอียิปต์

คณะกรรมาธิการด้านการเมืองขององค์การสันนิบาตอาหรับได้สนับสนุนการตัดสินใจของชาวปาเลสไตน์ที่จะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นในกาซ่า อีกทั้งยังอนุญาตให้ตัวแทนชาวปาเลสไตน์เข้าร่วมประชุมของสันนิบาตอาหรับอย่างเ ป็นทางการทุกครั้ง ในขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการด้านการเมืองก็แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับแผนการของจอร์แดนที่จะผนวกเอาเวสต์แบงก์มาเป็นของตนโดยย้ำว่าการปกครองของจอร์แดน (ในเวสต์แบงก์) เป็นการปกครองชั่วคราวเท่านั้น

ใน ค.. 1960 สันนิบาตอาหรับต้องเผชิญกับอีกปัญหาหนึ่ง คือ ความสัมพันธ์ที่เลวร้ายลงระหว่างอิรักกับคูเวต อันเนื่องมาจากอิรักอ้างสิทธิเหนือดินแดนคูเวต สันนิบาตอาหรับพยายามปกป้องคูเวตและประสบความสำเร็จในการบีบบังคับให้อิรักภายใต้การนำของอับดุลการีม กัสซาม (Abdel Karim Qassem) ให้เลิกล้มทุกๆ แผนการที่จะผนวกหรือรุกรานคูเวต อย่างไรก็ตาม สันนิบาตอาหรับก็ประสบความล้มเหลวในการแก้ไขข้อพิพาทเรื่องพรมแดนระหว่างเยเมนกับซาอุดิอาระเบีย

ในขณะนั้น อียิปต์มีบทบาทนำในสันนิบาตอาหรับและไม่มีปัญหาอะไรที่จะเข้าไปแทรกแซงหรือเข้าไปแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างอิรักกับคูเวต แต่ในกรณีข้อพิพาทระหว่างเยเมนกับซาอุดิอาระเบีย อียิปต์มีข้อจำกัดในการเข้าไปแก้ปัญหา เพราะกองกำลังทหารของอียิปต์เองอยู่ในเยเมนเพื่อสนับสนุนการปฏิวัติในเยเมน อีกทั้งยังร่วมกับเยเมนสู้รบกับซาอุดิอาระเบียซึ่งเข้ามาแทรกแซงในเยเมนด้วย

ตัวอย่างประเด็นปัญหาทั้งสองกรณีที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า ในการที่จะทำความเข้าใจและตัดสินความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสันนิบาตอาหรับ เราควรศึกษาอย่างระมัดระวังในเรื่องการเมืองและความขัดแย้งระหว่างประเทศอาหรับด้วยกันเองด้วย

ใน ค.. 1964 ประธานาธิบดี กามาล อับดุล นัซเซอร์ แห่งอียิปต์ ได้เรียกตัวแทนสมาชิกมาร่วมประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับ สิ่งท้าทายสองประการที่โลกอาหรับต้องเผชิญในขณะนั้น คือ การที่อิสราเอลเจตนาเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำในแม่น้ำจอร์แดน และชะตากรรมของชาวปาเลสไตน์ ต่อความเป็นไปดังกล่าว สันนิบาตอาหรับจึงตัดสินใจที่จะจัดตั้งกองกำลังร่วมขึ้นภายใต้การนำของนายพล อาลี อาลี อัมร์ (Ali Ali Amr) แห่งอียิปต์ โดยมีหน้าที่ในการจัดระบบใหม่และเสริมกำลังให้แก่กองทัพอาหรับ เพื่อปกป้องดินแดนของชาวอาหรับเองและตอบโต้ภัยคุกคามจากอิสราเอล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาปาเลสไตน์ สันนิบาตอาหรับตัดสินใจที่จะจัดตั้งองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestinian Liberation Organization : PLO) (ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของอะห์มัด ชุกอยรี่ (Ahmad Shuqeiri) โดยมีเป้าหมายที่จะระดมพลและสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่ชาวปาเลสไตน์เพื่อที่จะสามารถดิ้นรนต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิทธิเหนือดินแดนของพวกเขาเอง

ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่อิสราเอลรุกรานเลบานอนใน ค.. 1982 และขับไล่ PLO ออกจากเลบานอนจนต้องลี้ภัยไปอยู่ในตูนิเซีย ปรากฏว่า ไม่มีประเทศอาหรับใดหรือสันนิบาตอาหรับเข้าไปแทรกแซงเลย อย่างมากที่สุดประเทศอาหรับเหล่านี้ก็ออกแถลงการณ์ทางการเมืองแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับ PLO และประชาชนชาวเลบานอนเท่านั้น แต่พวกเขาไม่ได้ทำอะไรเลยที่จะปกป้องดินแดนเลบานอน หรือสงวนรักษาไว้ซึ่งเอกภาพของประเทศอาหรับ

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค..1985 PLO และจอร์แดนลงนามในสนธิสัญญาที่สำคัญ ซึ่งระบุถึงเจตนารมณ์ของทั้ง PLO และจอร์แดนในการทำงานร่วมกันให้ไปสู่การจัดตั้งสหพันธรัฐปาเลสไตน์-จอร์แดน ต่อกรณีนี้ ปฏิกิริยาของประเทศอาหรับมีความแตกต่าง โดยที่ซีเรียคัดค้าน ซาอุดิอาระเบียสงวนท่าที ส่วนประเทศอื่นๆ ก็ไม่ได้มีการวิจารณ์อะไรแต่อย่างใด

ในเดือน พฤศจิกายน ค..1987 การประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับจัดขึ้นที่กรุงอัมมาน โดยมีวาระเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การสร้างความสมานฉันท์ระหว่างอิรักกับซีเรีย เชิญอียิปต์กลับมาเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับอีกครั้ง และนับเป็นครั้งแรกของการประชุมสุดยอดที่สันนิบาตอาหรับไม่ได้พูดถึงวาระเรื่อง PLO และปัญหาของชาวปาเลสไตน์เลย อย่างไรก็ตาม ในอีก 1 เดือนต่อมา เมื่อเกิดการลุกฮือขึ้นต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ (Palestinian Intifada) ในเดือนธันวาคม ค.. 1987 ประเทศอาหรับทุกประเทศต่างแสดงออกถึงการสนับสนุนและแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับปัญหาของชาวปาเลสไตน์ ในปีต่อมา ผู้นำประเทศอาหรับต่างเร่งเร้าให้จอร์แดนประกาศถอนกำลังออกจากเวสต์แบงก์

ภายหลังจากสงคราม 6 วันระหว่างอาหรับ-อิสราเอลใน ค..1967 เกิดความขัดแย้งภายในสันนิบาตอาหรับเพราะอียิปต์และจอร์แดน ตัดสินใจยอมรับมติ 242 ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นมติที่ถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากทั้งอิรัก ซีเรีย เลบานอน และ PLO แต่ท้ายที่สุดซึ่งกินเวลาไปกว่า 10 ปี กว่าที่ประเทศเหล่านี้จะมองเห็นถึงความสำคัญในการใช้ประโยชน์จากมติของสหประชาชาติเพื่อต่อกรกับการหลอกลวงของอิสราเอล ใน ค..1969 สันนิบาตอาหรับได้จัดประชุมสุดยอดที่กรุงคาทูม เมืองหลวงของซูดาน โดยในที่ประชุมมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ในสงครามปี ค..1967 มติที่ผ่านการเห็นชอบในการประชุมครั้งนั้นได้ระบุเป็นข้อตกลงร่วมว่าประเทศอาหรับ  “จะใช้ความพยายามทางการเมืองร่วมกันทั้งในระดับระหว่างประเทศและระดับการทูต เพื่อขจัดผลของการรุกรานและเพื่อประกันถึงการถอดถอนกองกำลังผู้รุกรานอิสราเอลออกจากดินแดนอาหรับ ซึ่งทำการยึดครองมาตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ภารกิจนี้จะกระทำภายใต้กรอบของหลักการใหญ่ ซึ่งเป็นหลักการที่ประเทศอาหรับปฏิบัติตาม กล่าวคือ ไม่มีการสร้างสันติภาพกับอิสราเอล ไม่ยอมรับรัฐอิสราเอล ไม่เจรจากับอิสราเอล และยืนยันสิทธิของประชาชนชาวปาเลสไตน์ในประเทศของพวกเขาเอง

ในการประชุมสุดยอดที่กรุงราบาต (Rabat) ในปี ค.. 1974 PLO ได้รับการยอมรับจากสันนิบาตอาหรับให้เป็นตัวแทนของประชาชนชาวปาเลสไตน์เพียงกลุ่มเดียว แม้ว่าจะมีการคัดค้านจากจอร์แดนก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ 1970 สันนิบาตอาหรับประสบความสำเร็จในการยุติการปะทะกันทางทหารอย่างนองเลือดระหว่าง PLO กับจอร์แดน ซึ่งความสำเร็จดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบทบาทผู้นำของกามาล อับดุล นัซเซอร์ แห่งอียิปต์ ในระยะต่อมาสันนิบาตอาหรับได้ช่วยให้ PLO และเลบานอนบรรลุข้อตกลงหลายประการระหว่างกัน แต่ครั้งนี้ถือเป็นผลงานของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งรับหน้าที่เชิญฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองเลบานอนมาเจรจากันที่เมืองฎออีฟ ในปี ค..1976 จนมีการทำข้อตกลงสงบศึกกัน

วิกฤติใหญ่ที่เกิดขึ้นภายในสันนิบาตอาหรับเกิดขึ้น เมื่ออียิปต์ตัดสินใจลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับอิสราเอลที่แคมป์เดวิด (Camp David) ในปี ค..1979 ผลที่ตามมาคือ การประชุมสุดยอดสันนิบาตอาหรับที่กรุงแบกแดด ตัดสินใจถอดถอนอียิปต์ออกจากการเป็นสมาชิก พร้อมทั้งย้ายสำนักงานใหญ่จากที่เคยอยู่ในอียิปต์ไปประจำอยู่ที่ ตูนิเซีย และเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งเลขาธิการสันนิบาตอาหรับถูกมอบให้กับคนที่ไม่ใช่ชาวอียิปต์ กล่าวคือ Shazili Qulaibi ชาวตูนิเซียได้สืบทอดตำแหน่งเลขาธิการต่อจาก Mahmoud Riad อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ โดยที่เลขาธิการก่อนหน้านี้สองคนต่างเป็นอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์เช่นกัน คือ Mahmoud Fawzi และ Abdul Rahman Azzam
วิกฤติการณ์ครั้งใหญ่อีกครั้งของสันนิบาตอาหรับเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติอ่าวเปอร์เซียในปี ค.. 1990 ความแตกแยกในหมู่ประเทศอาหรับนั้นเห็นได้ชัด ในขณะที่บางประเทศออกมาประณามการรุกรานคูเวตของอิรัก พร้อมทั้งร่วมมือกับกองกำลังพันธมิตรต่างชาติเพื่อหยุดการรุกรานของอิรัก แต่ก็มีประเทศอาหรับอีกจำนวนหนึ่งที่เรียกร้องให้จัดตั้งกองกำลังอาหรับร่วมเพื่อที่จะรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพร่วมกัน ตลอดจนรักษาเขตพรมแดนของทุกประเทศในภูมิภาค

ส่วนทางสันนิบาตอาหรับตัดสินใจประณามการรุกรานและเรียกร้องให้อิรักถอดถอนกองกำลังออกไปจากคูเวตทันที แต่ในระยะเวลาต่อมา บทบาทของสันนิบาตถูกลดลงไปอย่างมาก เมื่อปรากฏแน่ชัดว่า ประเทศอาหรับแต่ละประเทศต้องการตัดสินใจเองและการตัดสินใจนั้นจะต้องสอดคล้องกับผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ ต่อกรณีจุดยืนของแต่ละประเทศต่อปัญหาความขัดแย้งระหว่างคูเวตกับอิรัก รวมถึงกรณีการสร้างความสัมพันธ์ระดับปกติกับอิสราเอลในช่วงเวลาต่อมาหลังจากมีการเริ่มประชุมสันติภาพที่กรุงมาดริด(Madrid Peace Conference)

บทบาทของสันนิบาตอาหรับยิ่งไร้ประสิทธิภาพลงเมื่อสหรัฐฯ ได้เชิญประเทศอาหรับจำนวนมากเข้าร่วมการประชุมสันติภาพตะวันออกกลางที่กรุงมาดริด ซึ่งเป็นการประชุมที่ตั้งอยู่บนฐานการเจรจา (ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี) อีกทั้งสหรัฐฯ ยังนำเสนอสูตร ดินแดนแลกสันติภาพ (Land-For-Peace) เพื่อแก้ปัญหาปาเลสไตน์อีกด้วย ในการประชุมดังกล่าว สันนิบาตอาหรับไม่ได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมแม้แต่ในฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์

9
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ถือเป็นช่วงที่สันนิบาตอาหรับถูกลดบทบาท ต่อมาเมื่อเกิดสงครามที่สหรัฐฯรุกรานอิรักแต่ฝ่ายเดียวในปี 2003 โดยไม่คำนึงถึงมติของประชาคมโลก จึงเป็นอีกครั้งที่องค์กรเก่าแก่นี้ถูกมองข้ามอย่างมาก

        ปัจจุบัน กระแสการลุกฮือต่อสู้ของประชาชนอาหรับเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง หรือที่เรียกกันว่า อาหรับ สปริง” ซึ่งแพร่กระจายขยายออกไปถ้วนทั่วภูมิภาค กลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในศตวรรษที่ 21 ที่สันนิบาตอาหรับต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



อ้างอิง

          http://sameaf.mfa.go.th/th/organization/detail.php?ID=199

"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่่านสู่ปัจจุบัน" พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว





"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่่านสู่ปัจจุบัน" พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

      เนื่องด้วยในเดือนสิงหาคมนี้เป็นวาระครบ  95 ปีแห่งวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี พระบรมราชินี  และอีกทั้งในเดือนสิงหาคม ยังจัดเป็นเดือนวันสตรีไทยอละวันแม่แห่งชาติอีกด้วย จึงทำให้ทางพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เห็นควรที่จะจัดโครงการสัมมนาเรื่องนี้ขึ้น






บทบาทของสตรีไทยในอดีต


         สตรีไทยมีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่อดีต  ในทางการเมืองสตรีไทยในประวัติศาสตร์หลายคนได้มบทบาทในการสร้างชาติไทย  เช่น  พระสุพรรณกัลยา  พระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเสียสละพระองค์เป็นองค์ประกันที่เมืองหงสาวดี  เพื่อแลกกับอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรที่จะมากอบกู้เอกราชให้กับกรุงศรีอยุธยาในวันข้างหน้า


         ในสมัยรัตนโกสินทร์  สตรีไทยหลายคนได้มีบทบาทในการต่อสู้ทำสงครามเพื่อปกป้องบ้านเมือง  เช่น  คุณหญิงจัน  ภรรยาเจ้าเมืองถลาง (ภูเก็ต)  และนางมุกน้องสาว  ได้นำชาวบ้านเมืองถลางต่อสู้ต้านทานกองทัพพม่าเมื่อครั้งสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ 1  มีความดีความชอบจนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรตามลำดับ

          ในสมัยรัชกาลที่ 3  คุณหญิงโม  ภรรยาของปลัดเมืองนครราชสีมา  ได้ใช้อุบายโดยให้หญิงชาวบ้านเลี้ยงสุราอาหารแก่ทหารลาว  ทำให้กองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ตายใจและปล่อยปละละเลยความปลอดภัยของค่ายทัพ เมื่อได้โอกาสก็นำอาวุธเข้าต่อสู้กับทหารฝ่ายลาวจนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากและแตกทัพหนีไป  ทำให้ฝ่ายไทยสามารถเอาชนะได้  ต่อมาคุณหญิงโมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นท้าวสุรนารี


         

  การแต่งกายในอดีต

           

            นอกจากนี้  เจ้านายสตรีบางพระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ครั้งแรกคือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระอัครราชเทวีเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระบรมราชินีนาถ  ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440 และครั้งที่ 2 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวชเมื่อพ.ศ. 2499ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

       ในสมัยปัจจุบัน  มีสตรีไทยจำนวนมากได้มีบทบาททางการเมือง  เช่น  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  รัฐมนตรี นอกจากนี้ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังมีสตรีที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ  เช่น  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นต้น

            ในด้านสังคมและวัฒนธรรม  สตรีไทยหลายท่านมีบทบาทด้านการประพันธ์  เช่น กรมหลวงนรินทรเทวี  (เจ้าครอกวัดโพ)  พระน้องนางเธอในรัชกาลที่ 1  ทรงประพันธ์จดหมายเหตุความทรงจำ  บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2310 ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่าจนถึง พ.ศ. 2363  ในช่วงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  นับเป็นการบันทึกข้อมูลประวัติศาสตร์ที่สำคัญสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

            

         นอกจากนี้  คุณพุ่มหรือบุษบาท่าเรือจ้าง  ธิดาของพระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี)  เป็นกวีหญิงที่มีความรู้ความสามารถ  เป็นศิษย์คนสำคัญของสุนทรภู่  และคุณสุวรรณ  ธิดาพระยาอุไทยธรรม (สกุล ณ บางช้าง)  และเป็นข้าหลวงกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ  ก็ได้เป็นศิษย์ของสุนทรภู่ด้วยเช่นกัน  ผลงานที่สำคัญ  เช่น  เพลงยาวจดหมายเหตุเรื่องกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพประชวร  บทละครเรื่องพระมะเหลเถไถ  และบทละครเรื่องอุณรุทร้อยเรื่อง  ดอกไม้สดประพันธ์เรื่องชัยชนะของหลวงนฤบาลผู้ดี  และจิรนันท์  พิตรปรีชา  ได้รับรางวัลกวีซีไรต์  

สถานภาพผู้หญิงไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ..2475

        บทบาทของสตรีในประเทศไทยนั้นได้เพิ่มขึ้นกว่าในอดีตอย่างมากและพบว่า ผู้หญิงได้รับการยอมรับในสังคมมากขึ้นโดยประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ในทวีปเอเชียที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2475 อย่างไรก็ดี บทบาทด้านการพัฒนาชาติยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก ผู้หญิงยังคงมีบทบาทน้อยในการเมืองไทย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากความตระหนักเรื่องความเท่าเทียมทางเพศที่ไม่เพียงพอและจากทัศนคติของสังคม อย่างไรก็ดีพวกเธอก็ยังได้รับการยอมรับจากสังคมในภาพรวมมากกว่าบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ


           ในแวดวงการประกอบการ ประชากรผู้หญิงไทยคิดเป็นแรงงาน 47% ของทั้งประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนผู้หญิงทำงานที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงไทยยังเผชิญกับปัญหาการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและความไม่เท่าเทียมทางเพศในเรื่องค่าจ้างเนื่องจากผู้หญิง "กระจุกตัวอยู่ในงานรายได้ต่ำ" ในด้านสวัสดิการหญิง ผู้หญิงไทยบางคนยังมีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อของการถูกสามีข่มขืน การค้ามนุษย์ การค้าประเวณี และรูปแบบอื่นของความรุนแรงในครัวเรือนและอาชญากรรมทางเพศ


           เพื่อนๆที่ไปสัมมนาในครั้งนี้
       
        ผู้หญิงไทยเฉลี่ยแล้วสมรสโดยมีอายุน้อยกว่าชาย และครัวเรือน 24% ที่ระบุว่าหญิงเป็น "หัวหน้าครอบครัวในปี พ.ศ. 2550 เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่า หลังสงครามเวียดนามประเทศไทยได้กลายมาเป็นจุดหมายของ "แหล่งพักผ่อนและสันทนาการ" และ "การท่องเที่ยวทางเพศ" สำหรับชายต่างประเทศ ซึ่งบางครั้งส่งผลให้มีการแต่งงานกับหญิงไทย ในหมู่ชายต่างประเทศที่มาแต่งงานเหล่านี้เป็นชายจากยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งแสวงหาคู่และการปลดภาระทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเกษียณ ขณะที่หญิงไทยแต่งงานกับชายต่างประเทศเพื่อชดใช้ชีวิตที่ผ่านมาที่เคยเป็นโสเภณี จากการถูกทิ้งโดยอดีตคนรัก และเป็นทางหนีจาก "ความยากจนและความไม่มีความสุข" แต่ไม่ใช่หญิงไทยทุกคนที่แต่งงานกับชายต่างประเทศจะเคยเป็นโสเภณีมาก่อน

     สถานภาพของหญิงในสังคมดีขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกได้ให้สิทธิแก่ชายและหญิงในการเลือกตั้ง หญิงได้รับเลือกเป็นผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นครั้งแรกใน พ.ศ. 2475พ.ศ. 2525 มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้หญิงเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้ สตรีมีบทบาทในทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก โดยอัตราการมีงานทำของสตรีอยู่ที่ร้อยละ 44.1 ใน พ.ศ. 2547 ทำงานในภาคเกษตรกรรมสูงสุด (ร้อยละ 40.4) ตามมาด้วยภาคบริการและอุตสาหกรรม (ร้อยละ 40.2 และ 19.5 ตามลำดับ)สถิติสตรีเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง และประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างเพิ่มขึ้น และช่วยเศรษฐกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้างลดลง สตรีมีการศึกษาระดับอุดมศึกษาสูงกว่าชาย สตรียังมีสถิติทำงานในแวดวงราชการสูงกว่าชายโดยอยู่ที่ร้อยละ 60.1


         
             

อ้างอิง